การเลือกใช้งานเครื่องดับเพลิง
Tags: ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับถังดับเพลิง, ถังดับเพลิง, ถังเคมี, ถังเคมีแห้ง, ถังแดง, ถังเขียว, ถังโฟม, สารเคมี, สายส่งน้ำ, สแตนวางถัง, สแตน, สายดับเพลิง, สายฉีด, สาย, สัญญาณไฟ, เครื่องดับเพลิง, เกจ์วัดแรงดัน, เรตเคมี, เครื่องดับเพลิงชนิดสารสะอาด, เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง, เครื่องดับเพลิงชนิด ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เครื่องดับเพลิงชนิดสารสะอาด, เครื่องดับเพลิงชนิดโฟม, เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง แบบรถเข็น, เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง แบบ automatic, เคมี, เครื่องสำรองไฟ, ไฟฉุกเฉิน, ไฟอราม, ไฟเตือน, ไฟเตือนฉุกเฉิน, ไฟสำรอง
การเลือกใช้งานเครื่องดับเพลิง
เครื่องดับเพลิงมีอยู่หลายประเภทด้วยกัน ซึ่งผู้ใช้งานควรพิจารณาประเภทของเครื่องดับเพลิงที่จะติดตั้งตามประเภทของเชื้อเพลิง (Class A B C)
และความเหมาะสมของสถานที่ติดตั้งเครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง เป็นประเภทที่เราพบเห็นกันบ่อยๆ
หลายท่านคงอาจจะเคยเห็นหรือผ่านตากับคำว่า Fire Rating มาบ้างแล้วเวลาที่ต้องเลือกซื้อเครื่องดับเพลิง
เช่น 2A-2B, 4A-10B, 6A-20B, 10A-40B เป็นต้น
จริงๆแล้วค่าเหล่านี้สำคัญอย่างไร?
Fire Rating สำคัญมากสำหรับเครื่องดับเพลิง เนื่องจากเป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพในการดับไฟของแต่ละรุ่น
อ้างอิงจากมาตรฐาน มอก.322-2537 ระบุไว้ว่า
A คือประสิทธิภาพในการดับไฟที่เชื้อเพลิงเป็นของแข็ง(Class A) เช่น ไม้ กระดาษ ขนสัตว์ พลาสติก เป็นต้น
B คือประสิทธิภาพในการดับไฟที่เชื้อเพลิงเป็นของเหลว(Class B) เช่น น้ำมัน ทินเนอร์ ก๊าซ เป็นต้น
แล้วตัวเลข 1A 2A 3A 4A... / 1B 2B 3B 4B... เยอะแยะมากมายนี่มาจากไหนกัน?
ภาพตารางด้านล่างเป็นขนาดเชื้อเพลิงมาตรฐานที่ทางสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรมกำหนด สำหรับวัดประสิทธิภาพการดับไฟ Class A

และตารางนี้ เป็นขนาดเชื้อเพลิงมาตรฐานที่ใช้ในการทดสอบสำหรับเชื้อเพลิง Class B

จะเห็นได้ว่าขนาดกองเพลิงนั้นต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งในปัจจุบัน ค่า Fire Rating
ที่สูงที่สุดที่สามารถผ่านการทดสอบได้คือที่ระดับ 10A-40B ของขนาดถังดับเพลิงขนาด 15และ20ปอนด์
และ 6A-20B ขนาด 10ปอนด์ค่ะ
**สรุปได้ง่ายๆก็คือ
ยิ่งค่า A หรือ B มากเท่าไหร่ กองไฟที่เครื่องดับเพลิงสามารถดับลงได้ก็จะใหญ่มากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นประสิทธิภาพในการดับไฟยิ่งสูงตามค่ะ**
ประเภทของไฟ
1.ประเภท A คือ เพลิงที่ไหม้ที่เกิดจากเชื้อเพลิงของแข็ง เช่น ไม้ ผ้า กระดาษ ปอ นุ่น ยาง พลาสติกClassA ดับไฟคลาสA
2.ประเภท B คือ เพลิงที่ไหม้ในของเหลวติดไฟและก๊าซติดไฟ เช่น น้ำมัน ก๊าซหุงต้ม จาระบี
3.ประเภท C คือ เพลิงที่ไหม้จากอุปกร์ไฟฟ้า ที่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร
4.ประเภท D คือ ประเภทวัตถุของแข็งหรือโลหะไวไฟ เช่น แมกนีเซียม ไตตาเนียม สำหรับแมกนีเซียมห้ามใช้น้ำดับเด็ดขาด
ต้องใช้เกลือแกงหรือทรายไฟClassD
5.ประเภท K คือ เพลิงไหม้ที่เกิดจากน้ำมันที่ใช้ประกอบอาหาร ไขมันสัตว์
ประเภทของถังดับเพลิง
1.ชนิดผงเคมีแห้ง (Dry Chemical) สามารถดับไฟได้เกือบทุกประเภท A B C ยกเว้น CLASS K ราคาถูก หาซื้อง่าย แต่มีข้อเสียคือเมื่อฉีดออกมาจะฟุ้งกระจาย และเมื่อเราทำการฉีดแล้ว จะฉีดจนหมดหรือไม่หมดถัง แรงดันจะตก ไม่สามารถใช้งานได้อีก
ต้องส่งอัดบรรจุใหม่ทันที
2.ชนิดน้ำยาเหลวระเหย สามารถดับไฟได้เกือบทุกประเภท A B C ยกเว้น CLASS K ราคาถูกกว่าฮาโรตรอน หาซื้อง่าย
เมื่อฉีดใช้งานจะไม่ทิ้งคราบสกปรก ไม่ทำลายอุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหาย และไม่ทำให้สกปรกในบริเวณ ที่ใช้งาน ถังสีเขียว
เหมาะกับ พื้นที่ที่เน้นความสะอาด เช่นอาคาร สำนักงาน โรงพยาบาล ห้องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
*สำหรับใช้ดับไฟภายใน*
3.ชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) สารเคมีภายในบรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซที่ฉีดออกมาจะเป็นไอเย็นจัด คล้ายน้ำแข็งแห้ง ลดความร้อนของไฟได้ ไม่ทิ้งคราบสกปรก สามารถดับไฟได้ประเภท B C เหมาะสำหรับการใช้งานในห้องเครื่องจักร Line การผลิต อุตสาหกรรมอาหาร ถังสีแดง ปลายกระบอกฉีดจะใหญ่เป็นพิเศษ
4.ชนิดโฟม สารเคมีภายในบรรจุโฟม เมื่อฉีดออกมาจะเป็นฟองโฟมคลุมผิวเชื้อเพลิงที่ลุกไหม้ จึงสามารถดับไฟได้ประเภท A B
แต่ไม่สามารถนำไปดับไฟประเภท C ได้เพราะเป็นสื่อนำไฟฟ้า เหมาะสำหรับภาคอุตสาหกรรม ดับเชื้อเพลิงประเภททินเนอร์
และสารระเหยติดไฟ ถังแสตนเลส
5.ชนิดสูตรเคมีน้ำ เป็นสารทดแทนสารฮาล่อน 1211 ได้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Non-CFC) ดับไฟClass A B C และ K ได้
ผ่านการทดสอบและรับรองประสิทธิภาพในการดับเพลิง Fire Rating 10A20B สำหรับขนาด 10ปอนด์
และ 10A40B สำหรับขนาด 15ปอนด์ โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (TISTR)
ไม่บดบังทัศนวิสัยขณะฉีดใช้งาน เนื่องจากไม่เป็นฝุ่นละออง ปลอดภัยสำหรับฉีเใช้งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้า
และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
เครื่องดับเพลิงชนิดเคมีแห้ง
เป็นเครื่องดับเพลิงอเนกประสงค์ สามารถดับเชื้อเพลิงได้ทุกประเภท A B C เหมาะสำหรับติดตั้งภายนอกอาคาร หรือ อาคารกึ่งเปิด เช่น โรงงานอุตสาหกรรม อาคารจอดรถ สำนักงาน ที่พักอาศัย โรงเรียน ร้านค้า โรงแรม เป็นต้น ผงเคมี ABC เป็นเคมีที่มีคุณสมบัติในการดับไฟได้ดี จะเข้าไปทำหน้าที่ลดอุณหภูมิความร้อน ของ ไฟให้ต่ำลงซึ่งเป็นต้นเหตุของเพลิง Class A และ ทำหน้าที่ปกคลุมกั้นออกซิเจนออกจากเพลิง คุมไฟ ให้อับอากาศ ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของเพลิงไฟ ใน Class B และ C ทำให้ไฟดับลงในที่สุด ผงเคมีมีลักษณะเป็นผงคล้ายแป้ง เมื่อฉีดใช้แล้วจะฟุ้งกระจาย แต่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง จึงเหมาะสำหรับติดตั้งภายนอกอาคารมากกว่า
เครื่องดับเพลิงคาร์บอนไดออกไซด์หรือ ซีโอทู (CO2)
มีคุณสมบัติในการดับเชื้อเพลิงประเภท Class B C ได้ดี เหมาะสำหรับติดดั้งและใช้งานภายในอาคาร หรืออาคารกึ่งเปิด เช่น ภายในสำนักงานออฟฟิศ โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ร้านค้า เป็นต้น ภายในบรรจุด้วยก๊าซคาร์บอนที่ถูกอัดแน่จนเป็นของเหลว เมื่อฉีดออกมาจะเกิดก๊าซที่เย็นจัด ช่วยลดอุณหภูมิในบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ ใช้หลักการตัดความร้อนออกจากองค์ประกอบของไฟ โดยใช้ความเย็นแทนที่ทำให้ไฟดับลงในที่สุด
เครื่องดับเพลิงชนิดสารเหลวระเหยNON CFC
NON CFC เหมาะสำหรับติดตั้งภายในอาคารปิดเท่านั้น สามารถดับไฟทุกประเภท A B C เมื่อฉีดใช้แล้วไม่ทิ้งคราบ เหมาะสำหรับการใช้งานในบริเวณที่ต้องการรักษาความสะอาด ปราศจากฝุ่นละออง บรรจุด้วยสารดับเพลิงชนิด NON CFC เป็นก๊าซที่ไม่ทำลายชั้นบรรยากาศ OZONE และยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
กฏหมายเกี่ยวกับระบบป้องกันอัคคีภัย (โรงงาน)
ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๒
ประกาศนี้บังคับใช้กับโรงงานจำพวกที่ 2 และ จำพวกที่ 3 เท่านั้น โดยไม่บังคับใช้กับโรงงานจำพวกที่ 1
ตามพรบ.โรงงาน พ.ศ.2535
ได้มีการแบ่งโรงงานออกเป็น 3 จำพวกดังนี้
- โรงงานจำพวกที่ 1 ได้แก่ โรงงานประเภท ชนิด
และขนาดที่สามารถประกอบกิจการโรงงานได้ทันทีตามความประสงค์ของผู้ประกอบกิจการโรงงาน
- โรงงานจำพวกที่ 2 ได้แก่ โรงงานประเภท ชนิด และขนาดที่เมื่อจะประกอบกิจการโรงงานต้องแจ้งให้ทราบก่อน
- โรงงานจำพวกที่ 3 ได้แก่ โรงงานประเภท ชนิด และขนาดที่ตั้งโรงงานต้องได้รับใบอนุญาต ก่อนจึงจะดำเนินการได้